Saturday, September 20, 2008
เคยอ่านข่าวนี้ป่ะ
"นาซา" ทึ่งเจ้าอาวาสวัดใน จ.แม่ฮ่องสอน คิดค้น "เครื่องลดมลภาวะ" ใช้พีระมิดผสานศูนย์แรงดึงดูดของกาแล็กซี เรียกลม-ฝน ชำระล้างมลพิษทางอากาศ ด้าน ดร.อาจอง ขอยืมทดลอง ยันพีระมิดดึงพลังงานได้จริง แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าคืออะไร ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนบูรณะรักษ์ธรรม เลขที่ 38/1 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พระอาจารย์รัตน์ รัตนญาโณ เจ้าอาวาสวัดดอยเกิ้ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน แถลงว่า ประสบความสำเร็จในการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องลดมลภาวะทางอากาศเครื่องลดภาวะโลกร้อน ประกอบด้วย พีระมิดรูปทรงสามเหลี่ยม มุม 60 องศา จำนวน 7 ก้อน โดยนำพีระมิดมาจัดเรียงแนวตั้ง แล้วพันรอบด้วยสายยาง ก่อนบรรจุน้ำเข้าไป ภายในติดตั้งปั๊มน้ำ เมื่อปั๊มน้ำทำงาน แรงดันจากปั๊มน้ำจะทำให้น้ำหมุนวนรอบพีระมิด จนเกิดเป็นเกลียววนจากขวาไปซ้ายตามศูนย์แรงดึงดูดของกาแล็กซีทางช้างเผือก แรงดึงดูดที่เกิดขึ้นจะถูกผลักขึ้นมาด้านบนของเครื่อง และจะทำให้น้ำบริเวณรอบวิ่งมาแทนที่และอากาศไหลตัวจนเกิดลมขึ้น ขณะที่เครื่องทำงานจะมีการดึงความชื้นและดึงดูดฝนให้ตกลงมารอบรัศมีของเครื่อง 5 กิโลเมตรนอกจากนี้ ยังดึงมลพิษทางอากาศเข้ามาทำลายทำให้อากาศสะอาด สำหรับพีระมิดซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องทำจากแร่ชนิดหนึ่งซึ่งถูกค้นพบในถ้ำแห่งหนึ่งใน อ.แม่สะเรียง แร่ดังกล่าวยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ในทางวิทยาศาสตร์ โดยแร่ดังกล่าวจะถูกนำมาผสมกับซีเมนต์ก่อนนำไปจัดเรียงไว้ในเครื่อง พระอาจารย์รัตน์กล่าวว่า เครื่องลดมลภาวะที่ทำขึ้นเป็นการผสมผสานกันระหว่างหลักการทางวิทยาศาสตร์และพลังจิตจากสมาธิ ซึ่งในการทำงานจะใช้พลังงานจากวัตถุ 80% ส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นพลังจิต หากใครผลิตเลียนแบบก็ไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของพลังจิต ทั้งนี้เครื่องลดมลภาวะใช้เวลาศึกษาและทดลองนานกว่า 3 ปี จึงประสบความสำเร็จ โดยช่วงที่ จ.เชียงใหม่ ประสบปัญหามลพิษทางอากาศจนต้องประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อปี 2548 ได้นำเครื่องลดมลภาวะไปติดตั้งบริเวณแจ่งศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ปรากฏว่าทำให้อากาศบริเวณดังกล่าวมีค่ามลพิษน้อยกว่าจุดอื่นอย่างเห็นได้ชัด เครื่องที่คิดค้นขึ้นมาไม่คิดจะทำขายเชิงพาณิชย์ แต่ต้องการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง ขณะนี้ผลิตเครื่องทั้งหมด 9 เครื่อง หากพื้นที่ใดที่ประสบปัญหาภัยแล้งสามารถมายืมเครื่องไปใช้ฟรี พระอาจารย์รัตน์กล่าวด้วยว่า ต้นปีที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนจากประเทศสิงคโปร์มา
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment